การสร้าง e-Book
ศักดา ศักดิ์ศรีพาณิชย์
วสส.พล.
ความหมายของ e-Bookวสส.พล.
คงต้องเข้าใจความหมายกันก่อนว่า e-Book หมายถึงอะไร เรื่องนี้ผู้เรียบเรียงค้นหาจาก Internet พบเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ให้ความหมายของ e-Book ไว้ว่า "หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป"โปรแกรม HTML Help Workshop เป็นโปรแกรมหนึ่งที่นำสร้าง e-Book ในยุคของ Internet ผู้อ่านสามารถ Download โปรแกรม HTML Help Workshop ได้ที่ เว็บไซต์ http://www.microsoft.com/
ขั้นตอนในการสร้าง e-Book โดยใช้โปรแกรม HTML Help Workshop
มีขั้นตอนดังนี้คือ
1. สร้างเอกสารที่อยู่ในรูปของไฟล์ Hypertext Markup Language (HTML)
2. สร้าง Help Project
3. สร้าง Table of Contents (TOC) หรือสารบัญ
4. สร้าง Help Index (ดัชนี)
สร้างเอกสารที่อยู่ในรูปของ ไฟล์ Hypertext Markup Language(HTML)
เนื้อหาของ e-Book ที่เราจะทำการสร้างขึ้นมาจะประกอบไปด้วย ไฟล์ .HTM หรือ .HTML เป็นหลัก ผู้อ่านสามารถที่จะ สร้างเอกสารเหล่านี้ได้โดยใช้โปรแกรม Microsoft FontPage หรือโปรแกรม Notepad หรือโปรแกรมที่ใช้สร้างเอกสาร HTML อื่น ๆ ก็ได้
วิธีการสร้างเอกสารเพื่อใช้เป็นเนื้อหานั้นให้ผู้อ่านสร้างเป็นไฟล์ย่อยๆตามหัวข้อของ Table of Contents (สารบัญ) เช่น ถ้าผู้อ่านมีสารบัญทั้งหมดอยู่ 10 หัวข้อ ก็ให้ผู้อ่านทำการสร้างเป็นไฟล์ HTML ตามจำนวนหัวข้อของสารบัญ เป็นต้น หรืออาจจะ สร้างไว้มาก หรือน้อยกว่าก็ได้ (ในที่นี้จะขอไม่อธิบายวิธีการสร้างไฟล์ HTML) เมื่อทำการสร้าง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำขั้นตอนต่อไป คือการสร้าง Help Project
ขั้นตอนการสร้าง Help Project
Help Project จะเป็นตัวที่ใช้จัดการในเรื่องของการสร้าง e-Book ซึ่งก็จะคล้ายกับ Project ในโปรแกรม Visual Basic ให้ผู้อ่าน ทำการสร้างโปรเจ็กขึ้นมาดังนี้
1. เรียกโปรแกรม HTML Help Workshop ขึ้นมาแล้วคลิกที่เมนู File จากนั้นคลิกที่รายการ New
2. ที่ New dialog box เลือก Project แล้วคลิกปุ่ม OK
3. จากนั้นเราจะเข้าสู่ New Project Wizard ซึ่งเป็นเครื่องมื่อที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโปรเจ็ก
4. ที่ dialog box ของ New Project ให้ผู้อ่านคลิกปุ่ม Next
5. ที่ dialog box ของ New Project – Destination ให้ผู้อ่านตั้งชื่อของโปรเจ็กที่ผู้อ่านจะสร้างขึ้นมา ให้ผู้อ่านกำหนดชื่อเป็น MYHELP แล้ว คลิกที่ปุ่ม Next
6. ที่ dialog box ของ New Project – Existing Files จะเป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดไฟล์ต่างๆที่มีอยู่แล้วนำมาใส่ไว้ในโปรเจ็ก
HTML Help table of contents (.hhc) กำหนดให้นำไฟล์ TOC ที่มีอยู่แล้วนำมารวมไว้ในโปรเจ็ก7. ที่ dialog box ของ New Project – Finish ให้คลิกปุ่ม Finish หลังจากนั้นเราก็จะได้ โปรเจ็ก MYHELP ดังภาพ
HTML Help Index (.hhk) กำหนดให้นำไฟล์ ดัชนี ที่มีอยู่แล้วนำมารวมไว้ในโปรเจ็ก
HTML File (.htm) กำหนดให้นำไฟล์ HTML ที่มีอยู่แล้วนำมามารวมไว้ในโปรเจ็ก
แต่ในหน้านี้ให้ผู้อ่านคลิกปุ่ม Next ไปก่อน โดยไม่ต้องทำการคลิกที่รายการใด ๆ
8. ผู้อ่านสามารถที่จะนำไฟล์ HTML ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้มารวมในโปรเจ็ก ได้โดยการคลิกที่ปุ่ม (Add/Remove topic Files)
จากนั้นก็จะขึ้น dialog box ของ Topic Files ให้ผู้อ่านทำการคลิกที่ปุ่ม Add เพื่อนำไฟล์ HTML มารวมไว้ในโปรเจ็ก ดังภาพ แล้วคลิกปุ่ม OK
ขั้นตอนการสร้าง Table of Contents (TOC) หรือสารบัญ
Table of Contents เป็นหัวข้อที่ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาของ e-Book ซึ่งก็เหมือนกับสารบัญของหนังสือ มีขั้นตอน ในการสร้างดังนี้
1. ทำการคลิกที่แท๊ป Contents จากนั้นให้ทำการเลือกรายการ Create a new contents File แล้วคลิกปุ่ม OK
2. ให้ทำการป้อนชื่อไฟล์ contents ที่สร้างขึ้นใหม่ว่า MYTOC แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้นเราก็จะเข้าสู่ส่วนของการสร้าง Table of Contents
3. ทำการกำหนด Heading โดยคลิกที่ปุ่ม (Insert a heading)จากนั้นเราจะเข้าสู่ในส่วนของ Table of Contents Entry ที่แท๊ป General ในช่อง Entry title: เป็นส่วนที่ให้กำหนดข้อความที่จะแสดงในส่วนของสารบัญ ให้ทำการป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)” (ไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “) จากนั้นให้คล๊กที่ปุ่ม OK
4. ต่อมาก็ทำการกำหนดรายการของสารบัญโดยทำการคลิกที่ปุ่ม (Insert a page) โปรแกรมก็จะถามว่า
5. ที่แท๊ป General ในช่อง Entry title: ให้ป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข(Public Health Information)” จากนั้นให้ คลิกปุ่ม Add...
ให้คลิกที่ปุ่ม No เพื่อเพิ่มรายการต่อจาก Heading ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้
6. ในส่วนของ Path or URL ที่ช่อง File or URL: ให้กำหนดชื่อไฟล์ HTML ที่เราต้องการ เช่น h_information.HTM แล้วคลิกที่ปุ่ม OK สองครั้งจากนั้นจะได้ TOC ดังภาพ
7. การกำหนดรูป Icon ให้กับรายการใน TOC ให้เข้าไปทำการแก้ไขรายการที่ต้องการ ให้เลื่อนแถบแสงไปที่รายการ “สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)” แล้วคลิกที่ปุ่ม (Edit Selection)
ในกรณีที่มีรายการอื่นๆอีกให้ย้อนกลับไปทำตามในข้อ 3-6 แล้วแต่กรณี
8. คลิกที่แท๊ป Advance ในช่อง Image Index กำหนดค่า เป็น 5 (Icon รูป folder) จากนั้นคลิกปุ่ม OK
9. ต่อมาให้ผู้อ่านกำหนด Icon ให้กับรายการ “” โดยกำหนดค่าให้กับ Image Index เป็น 1 (Icon รูป หนังสือ)
10. ผู้อ่านสามารถที่จะลบรายการใน TOC ได้โดยการคลิกที่ปุ่ม (Delete Selection)
ขั้นตอนการสร้าง Help Index (ดัชนี)
Index (ดัชนี) เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาของ e-Book ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้อ่านกำลังใช้งาน e-Book อยู่ผู้อ่านสามารถที่จะป้อนคำที่ต้องการค้นหาในส่วนของแท๊ป Index เมื่อพบคำที่ตรงกับที่ป้อน โปรแกรม e-Book ก็จะแสดงรายการที่มีคำที่เราได้กำหนดไว้ตอนสร้าง Help Index ออกมา ซึ่งเราสามารถที่จะ คลิกเข้าไปดูในรายการนั้นๆได้ มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. ทำการคลิกที่แท๊ป Index จากนั้นให้ทำการเลือกรายการ Create a new Index File แล้วคลิกปุ่ม OK
2. ให้ทำการป้อนชื่อไฟล์ Index ที่สร้างขึ้นใหม่ว่า MYINDEX แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้นเราก็จะเข้าสู่ส่วนของการสร้าง Index ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการสร้าง Contents
3. ให้คลิกที่ปุ่ม (Insert a keyword) จากนั้นเราจะเข้าสู่ในส่วนของ Index Entry ที่แท๊ป General ในช่อง Keyword: เป็นส่วนที่ให้กำหนดข้อความ(keyword) ที่จะแสดงในส่วนของดัชนี ให้ทำการป้อน “สารสนเทศสาธารณสุข” (ไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “) จากนั้นให้คล๊กที่ปุ่ม Add...
4. ในส่วนของ Path or URL ที่ช่อง File or URL: ให้กำหนดชื่อไฟล์ HTML ที่เราต้องการ เช่น h_information.HTM แล้วคลิกที่ปุ่ม OK ถ้าในกรณีที่ keyword ที่เรากำหนดไว้มีการอ้างถึงในไฟล์ HTML มากกว่าหนึ่งไฟล์ ก็ให้คลิกปุ่ม Add... เพื่อทำการเพิ่มไฟล์ HTML เข้าใน Keyword ได้อีก
กำหนดข้อความไตเติ้ลให้กับ e-Book
ผู้อ่านสามารถที่จะทำการกำหนดข้อความให้แสดงบนแถบป้ายหน้าต่าง(Title bar) ให้กับโปรแกรม e-Book ของผู้อ่านได้ โดยการคลิกที่แท๊ป Project แล้วคลิกที่ปุ่ม (Change Properties Options)
ทำการป้อนข้อความที่ช่อง Title: ในส่วนของ แท๊ป General จากตัวอย่างให้ผู้อ่านป้อนคำว่า “เอกสารการสอนวิชา สารสนเทศสาธารณสุข (Public Health Information)”
กำหนดไฟล์เพื่อแสดงตอนเริ่มเรียก e-Book
เมื่อทำการเรียกโปรแกรม e-Book ขึ้นมาแล้วเราสามารถที่จะกำหนดให้แสดงไฟล์ HTML ตอนเริ่มต้นแสดง e-Book ได้โดยเข้าไปกำหนดในส่วนของ Project แล้วทำการ Change Properties Option เลือกแท๊ป General ในช่อง Default File: ให้กำหนดไฟล์ที่ต้องการแสดงตอนเริ่มเรียก e-Book
กำหนดให้มีแท๊ป Search ใน e-Book
ในการสร้าง e-Book นั้นเราสามารถที่จะกำหนดให้ e-Book ของเราสามารถที่จะค้นหา (Search) คำหรือข้อความใดๆก็ได้ โดยการเพิ่มแท๊ป Search ไว้ในโปรแกรม e-Book จากเดิมที่จะมีเฉพาะแท๊ป Contents และ แท๊ป Index ได้โดยการเข้าไปกำหนดในส่วนของ Project แล้วทำการ Change Properties Option คลิกที่แท๊ป Compiler แล้วคลิกที่ช่อง Compile full-text search information
เสร็จงาน : Compile HTML e-Book File
ก่อนที่ผู้อ่านจะนำโปรเจ็กที่ได้สร้างไว้ไปใช้งานได้ ผู้อ่านต้องทำการ Compile โปรเจ็กนั้นก่อนโดยการคลิกที่ปุ่ม (Compile HTML file) จากนั้นทำการกำหนดไฟล์โปรเจ็กที่ต้องการจะ Compile โดยกำหนดในช่อง Project file: และถ้าต้องการที่จะแสดง e-Book หลังจากที่ทำการ compile แล้วก็ให้คลิกที่ช่อง Automatically display compiled help file when don ดังภาพ
เมื่อ Compile เสร็จแล้วก็จะได้ e-Book ตามความประสงค์ ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น